เมนู

เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นทุกข์
เธอพึงละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละ
ความพอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข-
เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ
ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโน-
สัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูก่อนโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละ
ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.
จบ ทุติยมหาโกฏฐิกสูตรที่ 8

9. ตติยมหาโกฏฐิกสูตร


ว่าด้วยการละความพอใจในส่งที่เป็นอนัตตา


[253] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯ ล ฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ .ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดง
ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจาก
หมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโกฏฐิกะ ก็สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความ
พอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูก่อนโกฏฐิกะ จักษุแลเป็น
อนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละความ
พอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุ
วิญญาณนั้น จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัส

นั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ
สัมผัสเป็นปัจจัยเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย หูเป็น
อนัตตา . . . จมูกเป็นอนัตตา . . . ลิ้นเป็นอนัตตา . . . กายเป็นอนัตตา . . .
ใจเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
เธอพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึง
ละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความ
พอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจ
ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูก่อนโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความ
พอใจในสิ่งนั้นเสีย.
จบ ตติยมหาโกฏฐิกสูตรที่ 9

อรรถกถามหาโกฏฐิกสูตรที่ 7 - 9


ใน 3 สูตรมีสูตรที่ 7 เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะ
ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติของพระเถระ.
จบ อรรถกถามหาโกฏฐิกสูตรที่ 7 - 9